ที่ ห้องประชุม อบต.เขาไม้แก้ว สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี ได้มีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของชุมชนในหมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 7 และหมู่ 9 ของโครงการทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินแกรนิต เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง ของนาง พรรณรัตน์ ปิงยศ ผู้ขอประทานบัตรเหมืองแร่หินแกรนิต โดยมีนายบรรลือศักดิ์ วรสันติกุล หัวหน้ากลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี ตัวแทนผู้มีส่วนเกี่ยวของ เข้าร่วมประชุม
โดยก่อนถึงเวลาประชุม กำนัน ผู้ใหญ่ ครู อาจารย์ นักเรียน-นักศึกษา และชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบพื้นที่โดยรอบโครงการทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินแกรนิต เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง กว่า 500 ครัวเรือน ได้รวมตัวกันที่บริเวณลานด้านหน้าห้องประชุมอบต.เข้าไม้แก้ว พร้อมชูป้ายคัดค้านที่นายทุนยื่นคำขอทำประทานบัตรเหมืองแร่หิน คำขอที่ 1/2564 เนื้อที่ประมาณ 60 ไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 2 ต.เขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
ทั้งนี้พอได้เวลาประชุมชาวบ้านที่คัดค้านไม่ได้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้พร้อมยื่นหนังสือคัดค้านให้กับวตัวแทนผู้เกี่ยวข้อง อาทิ นายกอบต.เขาไม้แก้ว ตัวแทนสื่อมวลชน บริเวณด้านนอกที่ประชุม เพื่อรอยื่นหนังสือให้กับตัวแทนสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี ที่ทำการเปิดประชุมด้านในห้องประชุม แต่ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานทำให้ชาวบ้านที่มาคัดคานได้บุกเข้าคัดคานกลางห้องประชุมพร้อมยืนอกสารการคัดคานและอ่านรายละเอียดการคัดค้านซึ่งมีด้วยกัน 13 ข้อ อาทิ ข้อ1.พื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทยนั้นมีลักษณะเป็นที่ราบลูกระนาด เป็นเนินหลายลูกติดต่อกันไป ในพื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลเขาไม้แก้วก็เป็นเช่นเดียวกัน โดยพื้นที่ 60 ไร่ ที่ขอออกประทานบัตรเหมืองหิน นั้นอยู่บนเนินลูกเดียวกับหมู่บ้านแกรนด์วัลเลย์ หมู่2 ตำบลเขาไม้แก้ว หมู่บ้านอยู่บนเนินด้านทิศ ตะวันตกมีรั้วกั้นอยู่บนยอดเนิน ส่วนพื้นที่ที่ขอประทานบัตรเหมืองหินอยู่ทิศตะวันออก จะเห็นว่ามี เพียงรั้วซึ่งสูงประมาณ 1 เมตรกั้นระหว่างพื้นที่ทั้งสองเท่านั้น ปัจจุบันผู้ประกอบการทำเป็นบ่อดิน ขุด ดินออกไปขายมาหลายปีแล้ว โดยบ่อดินห่างจากรั้วของหมู่บ้านประมาณ 18 เมตร เท่านั้น ผู้ประกอบการพบหินแกรนิตอยู่ใต้บ่อดินจึงยื่นขอประทานบัตรเพื่อทำเหมืองหินต่อ การทำเหมืองหิน ดังกล่าวอาจทำให้ดินบนเนินเกิดการเคลื่อนตัว เป็นผลให้อาคารบ้านเรือนในหมู่บ้านได้รับความ เสียหายพังทลาย เป็นความเสียหายที่ร้ายแรง ก้อนหินที่เกิดจากแรงระเบิดอาจกระเต็นมาตกใส่คน, สัตว์หรือหลังคาบ้านทำให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลและบ้านเรือนได้ 2. พื้นที่เหมืองหินมีเพียง 60 ไร่ เป็นเหมืองหินที่อยู่ใต้เนินดิน ไม่ใช่พื้นที่ภูเขา จึงมีพื้นที่น้อย ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ มีการจ้างแรงงานไม่มาก ไม่คุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับชุมชน
3.การทำเหมืองหินต้องใช้ระเบิด ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนที่ไม่สามารถควบคุมได้ จะเป็นผลให้อาคาร บ้านเรือนที่อยู่ติดกับเหมืองหิน แตกร้าวเสียหาย แม้จะมีกองทุนป้องกันความเสียหายก็ไม่อาจเยียวยา ได้ทั้งหมด ควรป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจะเหมาะสมมากกว่า นอกจากนี้แรงระเบิดอาจจะทำให้ มีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีสัณฐานของเนินดิน ทำให้ทางน้ำใต้ดินเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งประชาชนในหมู่ ที่ 2 ตำบลเขาไม้แก้วในปัจจุบันใช้น้ำบาดาลเป็นหลักอาจมีความเสี่ยงที่จะไม่มีน้ำใช้ เพราะในพื้นที่ ดังกล่าวไม่มีน้ำประปา 4.ปัญหามลภาวะทางอากาศ เรื่องฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นจากาการทำงานของเหมืองหิน ที่เกิดจากระเบิดหิน การย่อยหินและการขนส่งหิน ไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน อีกทั้งไม่มีการกำหนดวิธีควบคุมฝุ่นละอองที่เกิดขึ้น และ5.ปัญหามลภาวะทางเสียง นอกจากระเบิดแล้วยังมีเสียงที่เกิดจากการย่อยอหินของโรงโม่หินที่อยู่ในพื้นที่ประทานบัตร เป็นต้น ซึ่งแม้ทางตัวแทน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี ชี้แจงเหตุผลและแนวทางต่อการนำเนินการ แต่ชาวบ้านก็ไม่ยินยอมที่จะรับฟังพร้อมตะโกนเพียงว่าไม่เอาโครงการทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินแกรนิต เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง
ด้านสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี กล่าวว่าจากนี้ จะนำหนังสือคัดค้านของชาวบ้านแนบไปกับเอกสารการประชุมให้ผู้มีอำนาจที่จะอนุญาตพิจารณา พร้อมจะมีการติดประกาศคำคัดค้านของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ หลังจากนี้อีก 15 วัน ณ ที่บริเวณด้านหน้าห้องประชุมอบต.เขาไม้แก้ว เพื่อให้ประชาชนได้นำเสนอผลกระทบต่อไป