ในการประชุมสมาคมนักธุรกิจและการท่องเที่ยวเมืองพัทยา ชลบุรี ประจำเดือนมกราคม 2568 ณ สวนอาหารเรือนไทยที่ผ่านมา นายเกียรติศักดิ์ ศรีวงชัย ปลัดเมืองพัทยา ได้มีการชี้แนวทางการพัฒนาเมืองพัทยาในปี 2568 รงมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนในช่วงที่ผ่านมา ที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยว ทั้งปัญหาขุดเจาะ ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาการจราจร การพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียของเมืองพัทยาที่มีอยู่ในปัจจุบัน เป็นต้น
ขณะที่นายณัฐพงษ์ แสนทวีสุข ผู้อำนวยการส่วนจัดการระบบ ป้องกันและระบายน้ำ สำนักช่างสุขาภิบาลเมืองพัทยา ได้กล่าวชี้แนวแนวทางการแก้ปัญหาน้ำท่วม ว่า ด้วยสภาพพื้นที่ของเมืองพัทยาที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ เมื่อเกิดฝนตกหนักน้ำฝนจากฝั่งตะวันออกจะไหลลงมายังพื้นที่เมืองพัทยา เพื่อไหลลงทะเล ซึ่งปัญหาคือพื้นที่ฝั่งหนองปรือจะมีพื้นที่ที่สุงกว่าเมืองพัทยา 50-60 เมตร เมื่อฝนตกน้ำที่ไหลมาจากฝั่งหรือไหลลงมาเหมือนน้ำป่า เมื่อฝนที่ตกมีประมาณ 60 มิลลิเมตร ก็จะทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่เมืองพัทยา ทั้งนี้ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นฝ่ายบริหารเมืองพัทยา ได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม อีกทั้งเมื่อ2-3 ปีที่แล้วกรมโยธาธิการและผังเมืองได้เข้ามาช่วยศึกษาและออกแบบการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เมืองพัทยาทั้งหมด แต่ด้วยแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของกรมโยธาธิการและผังเมือง จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล งบประมาณอยู่ที่ประมาณ 26,000 ล้านบาท และในส่วนกลางก็ยังไม่มีงบประมาณในส่วนนี้
ทั้งนี้เมืองพัทยาต้องดำเนินการแก้ไขน้ำท่วมด้วยตัวเอง โดยได้มีการออกแบบที่เมืองพัทยาสามารถดำเนินการได้ ทั้งการดำเนินการจัดสร้างระบบสูบน้ำและวางท่อระบายน้ำเพื่อตัดมวลน้ำที่ไหลมาจากฝั่งหนองปรือเข้าสู่เมืองพัทยา บริเวณพื้นที่ถนนเลียบทางรถไฟ ระบายลงสู่ทะเล ซึ่งโครงการในการดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเมืองพัทยาจะมีประมาณ 3-4 โครงการใหญ่ ๆ อาทิ โครงการก่อสร้างบริเวณถนนเลียบทางรถไฟ ถนนสุขุมวิทช่วงบริเวรนาเกลือใต้ไปถึงคลองนาเกลือ และพื้นที่หนองใหญ่ ซึ่งหลังจากการดำเนินการวางท่อระบายน้ำและติดตั้งเครื่องสูบน้ำเสร็จในเฟสแรก ทำให้พื้นที่หนองใหญ่น้ำไม่ท่วม โดยพื้นที่ที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในลำดับต่อไปคือพื้นที่พัทยาใต้และเขาตาโล ซึ่งรอการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนกลาง โดยจะมีการนำผลการออกแบบของการกรมโยธาธิการและผังเมือง มาดำเนินการ เมื่อดำเนินการเสร็จจะสามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ดังกล่าวได้ 100% อย่างไรก็ตามปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เมืองพัทยานั้นทางเมืองพัทยาไม่ได้นิ่งนอนใจมีการดำเนินการวางแนวทางแก้ไขอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการนำงบประมาณของเมืองพัทยาและส่วนกลางอุกหนุนมาดำเนินการ
ด้าน นายเกียรติศักดิ์ ศรีวงชัย ปลัดเมืองพัทยา กล่าวเสริม ว่า ที่ผ่านมาเมืองพัทยาได้มีการติดตามคำแนะนำและมุมมองการทำงานของเมืองพัทยาจากประชาชนและนักท่องเที่ยวผ่านโลกโซเชียลมาตลอด ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ขอชี้แนะว่าการแก้ไขปัญหาของเมืองพัทยานั้นดำเนินการโดยใช้หลักวิชาการโดยไม่ได้ใช้หลักความรู้สึกส่วนตัว น้ำที่ไหลมาจากฝั่งหนองปรือนั้นเมืองพัทยาใช้วิธีการดักน้ำที่ไหลลงมาไม่ให้เข้าท่วมเมืองพัทยา ส่วนคำถามที่ประชาชนสงสัยว่าทำไหมเมืองพัทยาติดทะเลยังเกิดปัญหาน้ำท่วมนั้น ด้วยท่อระบายน้ำของเมืองพัทยาที่มีการวางไว้นั้นอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 2 เมตร เมื่อน้ำไหลลงสู่ชายหาดไม่สามารถไหลดันอยู่บนผิวน้ำได้ เนื่องจากคลื่นทะเลแรกการน้ำที่ไหลลงมา ส่วนปัญหาเรื่องการขุดเจาะก็ต้องขออภัยประชาชนและนักท่องเที่ยว แต่การขุดเจาะเชื่อมายังคงมีต่อไป ด้วยโครงการพัฒนาเมืองพัทยาและการดำเนินการของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งการไฟฟ้า ประปา และระบบสื่อสาร
ทั้งต้องมีการดำเนินการในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภครองรับความเจริญแบบก้าวกระโดดของเมืองพัทยาในปัจจุบัน อีกทั้งแต่ละหน่วยงานจะได้รับงบประมาณในการดำเนินการโครงการต่าง ๆ นั้นมาไม่พร้อมกันทำให้ปัญหาการขุดเจาะในเมืองพัทยาจึงมีอย่างแต่เนื่อง แม้เมืองพัทยาได้มีความพยายามบูรณาการในการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานในการขุดเจาะให้เกิดในครั้งเดียวกัน เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวแล้วก็ตาม โดยได้มีกาจัดตั้งคณะทำงานโครงการไฟฟ้าในเมืองใหญ่ เพื่อพิจารณาหากหน่วยงานใดจะมีการขุดเจาะเปิดผิวถนนจะต้องผ่านคณะกรรมการชุดดังกล่าวก่อน แต่สุดท้ายก็แก้ไขปัญหาได้ไม่ 100% ด้วยงบประมาณชของแต่ละหน่วยงานมาไม่พร้อมกัน ทำให้ปัญหาขุดเจาะจึงไม่สามารถปิดจบได้ ตามเป้าที่เมืองพัทยาวางไว้ ด้วยต้องรองรับความเจริญในพื้นที่ต่อไป