หน้าแรก ข่าวประชาสัมพันธ์ ศรชล ภาค 1 ร่วมปฏิบัติการเก็บกู้เครื่องมือประมงอวนขนาดใหญ่ ในพื้นที่เกาะมารวิชัย

ศรชล ภาค 1 ร่วมปฏิบัติการเก็บกู้เครื่องมือประมงอวนขนาดใหญ่ ในพื้นที่เกาะมารวิชัย

483
0
แบ่งปัน
https://youtu.be/UnN2I3XKjVw

               วันนี้ 3 ก.ค.64   ที่ท่าเรือ E ท่าเทียบเรือแหลมบาลีฮาย พัทยา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี  นายสนธยา   คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา ได้เป็นประธานจัดกิจกรรมเก็บกู้เครื่องมือประมงอวนขนาดใหญ่ ในพื้นที่เกาะมารวิชัย  โดยมี ผู้แทน พลเรือโท โกวิท อินทร์ พรหม ผู้อำนวยศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 1(ศรชล ภาค1 อ่านว่า สอน-ชน ) นายภุชงค์  สฤษฎีชัยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่  2   และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรมกันอย่างพร้อมเพียง

                  การจัดกิจกรรมในครั้งนี้สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 64 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้รับแจ้งจากเครือข่ายนักดำน้ำว่า พบอวนผืนใหญ่ ปกคลุมแนวปะการัง บริเวณเกาะมารวิชัย เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ห่างจากฝั่งท่าเทียบเรือแหลมบาลีฮาย ประมาณ 10 ไมล์ทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้สั่งการให้ สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติการเก็บกู้เครื่องมือประมงอวน ดังกล่าว และในวันที่ 29 มิถุนายน 2564 เจ้าหน้าที่ สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่2และเครือข่ายนักดำน้ำอาสาสมัคร ออกปฏิบัติการดำน้ำ เพื่อสำรวจสภาพพื้นที่เกิดเหตุสำหรับเป็นข้อมูลพื้นฐาน และประเมินสภาพปัญหา เพื่อกำหนดแผนการปฏิบัติการเก็บกู้และจากการสำรวจ พบผืนอวนขนาดใหญ่ เป็นอวนล้อมจับ อวนดำ จำนวน 1 ผืนปกคลุมแนวปะการัง บริเวณทิศใต้ ของเกาะมารวิชัย เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรีพื้นที่รวมประมาณ 414 ตารางเมตร ที่ระดับความลึกของน้ำ ประมาณ 12 เมตร

          โดยครั้งนี้ได้รับความร่วมมือร่วมจาก ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 1 สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชลบุรี ,เมืองพัทยาศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันออก นักดำน้ำจากหน่วยปฏิบัติการประดาน้ำทหารเรือ เครือข่ายนักดำน้ำอาสาสมัคร รวมทั้งสิ้น 42 คน ใช้เรือในการปฏิบัติการทั้งสิ้น 7 ลำ โดยทั้งนี้เจ้าหน้าที่และนักดำน้ำอาสาสมัครได้กู้ซากอวน ขึ่นมาได้น้ำหนักทั้งสิน 225 กิโลกรัม หลังจากกู้อวนแล้วจะส่งต่อให้กับหน่วยงานเพื่อทำการศึกษาและรีไซเคิ้ล แบ่งเป็น สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ เอาไปศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของอวนเมื่อจมอยู่ในทะเล เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการแปรสภาพซากอวนประมงเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ด้วยกระบวนการทางเคมีความร้อนและ ส่งต่อให้ บริษัท ไทยล่อน เทคโน ไฟเบอร์ ผู้นำรีไซเคิล แห-อวนและรีไซเคิลสิ่งทอ เพื่อศึกษาและวิจัย แห-อวน ที่กู้ได้ มารีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง ผ่านโครงการ Net Free Seas (ทะเลปลอดอวน) ดำเนินการโดยมูลนิธิ Environmental Justice Foundation Thailand มุ่งกำจัดขยะเครื่องมือประมงจากทะเลไทยอีกต่อไป