หน้าแรก ข่าวประชาสัมพันธ์ ไทย-สหรัฐ ฯ ฝึกร่วมการัต ยกระดับความร่วมมือทางทะเล อ่าวไทย

ไทย-สหรัฐ ฯ ฝึกร่วมการัต ยกระดับความร่วมมือทางทะเล อ่าวไทย

217
0
แบ่งปัน

    ในนี้ 23 พ.ค.65 ที่หน้ากองบัญชาการ กองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี พลเรือโท ไพศาล มีศรี รองผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ และนาวาโท ไบรอัน บันเก ผู้บัญชาการประจำเรือ USS Jackson (LCS 6) ร่วมเป็นประธานเปิดการฝึก “การัต” ครั้งที่ 28 ประจำปี 2565

     เป็นการฝึกร่วมทั้งชายฝั่งและนอกชายฝั่ง ในน่านน้ำอาณาเขตและน่านน้ำสากลใกล้สัตหีบและเกาะสมุย โดยสหรัฐฯ ส่งเรือ USS Jackson(LCS 6) และเครื่องบิน P-8A Poscidon ภายใต้กองเรือบัญชาการเฉพาะกิจ (C1F) ที่ 72 เข้าร่วมฝึกกับเรือและอากาศยานจากกองทัพเรือไทย ประกอบด้วย เรือหลวงนเรศวร เรือหลวงบางปะกง เรือหลวงกระบุรี และอากาศยาน S-76B รวมถึงหน่วยฝึกนักประดาน้ำและถอดทำลายอมภัณฑ์ ระหว่างวันที่ 23-27 พ.ค.65 เพื่อมุ่งเสริมสร้างการปฏิบัติการร่วมกันและกระชับความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

     นาวาโท ไบรอัน บันเก ผู้บัญชาการประจำเรือ USS Jackson กล่าวว่า “ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของโอกาส ที่จะได้ทำงานร่วมกับกองทัพเรือไทย เพื่อสนับสนุนความร่วมมือด้านความมั่นคงระดับภูมิภาค พร้อมทั้งสร้างเสริมและยกระดับศักยภาพในการทำงานร่วมกัน” ของทั้งสองประเทศ แสดงถึงขีดความสามารถในการปฏิบัติการร่วมกัน  รวมไปถึงยุทธวีธีที่ออกแบบมา เพื่อเสริมสร้างการสื่อสารขณะเดินเรือร่วมกัน โดยใช้ยุทธวิธีการจัดกระบวนเรือที่ชับซ้อน รวมถึงการติดตามเป้าหมายทางทะเล ด้วยเครื่องบิน P-8 ตามรอยและติดตามเป้าหมายที่อยู่เหนือพิสัยการมองเห็น การฝึกค้นหาและกู้ภัย การฝึกลงจอดเฮลิคอปเตอร์ บนเรือของทั้งฝ่าย ด้วยการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ชำนาญการเฉพาะเรื่อง เป็นกิจกรรมการฝึกร่วมที่มีเป้าหมายเสริมสร้างขีดความสามารถ และองค์ความรู้ของผู้เข้าร่วมการฝึก

      พลเรือโท ไพศาล มีศรี รองผู้บัญชาการกองเรื่อยุทธการ กล่าวว่า “ผมมั่นใจว่าทุกกองกำลังที่เข้าร่วมการฝึก จะได้รับประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนด้านเทคนิค วิชาการ การฝึกภาคฝึกบนฝั่งและการฝึกนอกชายฝั่ง”

      การฝึกการัต จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2538 และต่อยอดจากความร่วมมืออื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอินโด แปซิฟิก ในแต่ละครั้งของการฝึกจะประกอบไปด้วย การประชุมสัมนาระหว่างผู้เชี่ยวชาญ การฝึกนอกชายฝั่งที่ซับซ้อนทันยุคสมัย ประกอบไปด้วย การพัฒนาศักยภาพทางทะเลที่หลากหลาย ตั้งแต่การฝึกถอดทำลายอมภัณฑ์ การยิงปืนใหญ่ โดยใช้เครื่องกระสุนจริง การค้นหาและกู้ภัยทางทะเล การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และการตอบสนองต่อภัยพิบัติ เรือ USS Jackson สังกัดกองเรือพิฆาต (DESRON) ที่ 7 ได้เวียนมาประจำการในพื้นที่ปฏิบัติการของ กองเรือที่ 7 เพื่อสนับสนุนความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาค ตลอดจนทำงานร่วมกับกองทัพเรือ ของชาติพันธมิตร เพื่อให้เกิดความมั่นคงและเสถียรภาพทางทะเล อันเป็นเสาหลักของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ที่เสรีและเปีดกว้าง

    กองเรือพิฆาตที่ 7 เป็นฝูงเรือพิฆาต ส่วนหน้าของกองทัพเรือสหรัฐฯ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีหน้าที่บัญชาการยุทธวิธี และปฏิบัติการของเรือโจมตีชายฝั่ง ที่เวียนไปประจำการในสิงคโปร์ อีกทั้งยังเป็น กองเรือบัญชาการรบทางทะเล ของชุดจู่โจมโพ้นทะเล (Expeditionary Strike Grou) ที่ 7 และทำหน้าที่เสริมสร้างความร่วมมือและผ่านการฝึกอบรม ตลอดจนกิจกรรมร่วมกับ กองทัพของชาติอื่น ๆ ด้วย

นิราช ทิพย์ศรี /นันทพล  ทิพย์ศรี  อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี 0909535645,0945565622/086-3684323