หน้าแรก ข่าวประชาสัมพันธ์ อาจารย์ อ๊อดจี้โชว์ผลแล็ปตรวจยาเคล็อตใหญ่แจงให้ความกระจ่างต่อสังคม

อาจารย์ อ๊อดจี้โชว์ผลแล็ปตรวจยาเคล็อตใหญ่แจงให้ความกระจ่างต่อสังคม

430
0
แบ่งปัน
https://youtu.be/qkYz_KDSfss

รศ. ดร. วีรชัย พุทธวงศ์หรืออาจารย์อ๊อดอาจารย์ประจำภาควิชาเคมีคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า สำหรับเคตามีน เป็นสารอินทรีย์  ส่วน สารไตรโซเดียมฟอสเฟต เป็น  สารอนิลทรีย์ ซึ่งเป็นสารคนละกลุ่ม สำหรับสารไตรโซเดียมฟอสเฟต เป็นสารอุตสาหกรรมอาหารและยา หรืออุปกรณ์ทำผม ผงซักฟอก ราคาถูกประเทศไทยผลิตเองไม่ได้ แหล่งผลิตใหญ่ที่สุดคือประเทศจีน ส่วนสารที่ใช้ตรวจใน ที่นำสื่อเข้าตรวจสอบห้องเก็บของกลางพบยาเคจำนวน 11.5 ตันที่ตรวจยึดได้ในโกดังแห่งหนึ่งใน อ. บางปะกง จ. ฉะเชิงเทรา โดยมีรัฐมนตรีเข้าแถลงข่าวนั้นเป็นสารที่ใช้ตรวจเคตามีนเป็นชุดคิท ก่อนส่งตรวจที่แลปอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในวันที่เกิดเหตุนั้นถุงจะเขียนว่า ไตรโซเดียมฟอสเฟต แต่เมื่อตรวจแล้วเป็นสีม่วง หลังจากที่ตรวจแล้วผ่านไปมีการแถลงแล้วเป็น ไตรโซเดียมฟอสเฟต จึงได้ตั้งคำถามว่า  3 ประเด็นเกี่ยวกับคดีเคตามีนกลายเป็นไตรโซเดียมฟอสเฟตคือ 1. Test kit มั่ว หรือเปล่า  2. เล่นแร่แปรธาตุไหม 3. ขอดูผล Lab GC-MS  ได้หรือไม่ เพราะสารไม่เกิดเป็นสีม่วง

       ส่วนอีกประเด็นก็คือทางไต้หวันสั่งซื้อสารจากโกดังแห่งนี้และมีเคตามีนปนไป ทางตำรวจสากลประสานมาให้จับ เมื่อจับแล้วตรวจแล้วเป็นสีม่วง แต่ภายหลังเป็นไตรโซเดียมฟอสเฟต  ซึ่งมีถึง 11 ตันแต่มูลค่าไม่กี่แสนบาท ซึ่งเขาต้องจ่ายค่าเช่าโกดังเดือนละ 70,000 บาท กับของไม่มีมูลค่า และประเทศไต้หวันไม่มีความจำเป็นที่ต้องสั่งไตรโซเดียมฟอสเฟต  จากประเทศไทย เพราะสั่งจากจีนง่ายกว่านี่คือพิรุธ

    ส่วนประเด็นสุดท้ายวันมันไม่เกินอะไรขึ้นเลยหรือเมื่อผ่านไปแล้ว 10 วัน อย่างน้อยก็ควรมีคำตอบให้สังคมว่ามันเกิดอะไรขึ้น ซึ่งควรส่งของจริงๆปตรวจพิสูจน์แล็ปกลางแล้วก็ยืนยันว่ามันคืออะไรแน่ ซึ่งก็ขอดูผลแล็ปว่าเป็นอย่างไร

          รศ. ดร. วีรชัย พุทธวงศ์หรืออาจารย์อ๊อดอาจารย์ กล่าวอีกว่า ชุดคิทที่ใช้ตรวจนั้นจะใช้เวลาตรวจเพียง 5 วินาที ที่ใช้ตรวจเคตามีนโดยเฉพาะ แต่เวลาผ่านไป 10 วันแล้วมาบอกว่าเป็น ไตรโซเดียมฟอสเฟต จึงเป็นคำถามของสังคม สำหรับสารทั้ง 2 ตัวนั้นเป็นสารคนละชนิด ซึ่งสาร 2 ตัวจะเป็นสารสีขาวเหมือนกัน ซึ่งอาจเอามาปนกันซึ่งในจำนวน 400 กระสอบ อาจมี 30 กระสอบปนอยู่ในนั้น ซึ่งต้องมีการตรวจสอบซึ่งการตรวจนั้นใช้เวลาเพียง 5 วินาที ซึ่งน่าจะไม่น่าใช้เวลานาน ซึ่งสามารถแยกออกตรวจสอบได้

ซึ่งจากที่มีการแถลงนั้นอาจารย์อ๊อด ก็ยังงงๆว่าทั่งหมดนั้นเป็นสารไตรโซเดียมฟอสเฟตทั้งหมดหรือแค่บางส่วนซึ่งก็อยากให้ออกมาชี้แจง ซึ่งหลายๆอย่างนั้นในการแถลงข่าวรู้สึกมีความเพี้ยนซึ่งอยากทำอะไรให้สังคมกระจ่าง ประชาชนก็วงสัยอยากได้ความกระจ่าง ซึ่งตนอยากให้ผลแล็ปออกมายืนยัน หรืออาจใช้หน่วยงานอื่นเช่น กรมวิทยาศาสตร์ หรือ หน่วยงานอื่นเพื่อตรวจหรือส่งมาที่ผมก็ได้แต่ขอให้เป็นสารที่ตรวจจับได้จริงๆมาตรวจ..