หน้าแรก Uncategorized ฝนถล่มพัทยาทำน้ำท่วมขังซ้ำซาก ชุมชนเดือดร้อน การจราจรติดขัดอย่างหนัก

ฝนถล่มพัทยาทำน้ำท่วมขังซ้ำซาก ชุมชนเดือดร้อน การจราจรติดขัดอย่างหนัก

512
0
แบ่งปัน
https://youtu.be/PhtnbE3HLsE

จากกรณีที่กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศช่วงวันหยุดยาวสงกรานต์ 2564 โดยสภาพอากาศวันนี้ (11 เม.ย.) ถึงวันพรุ่งนี้ บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอน บนมีอากาศร้อน ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฝนฟ้าคะนอง และมีลมกระโชกแรง สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง

มีรายงานว่าช่วงเวลาประมาณ 15.30 น.วันนี้ (11 เม.ย.) ในพื้นที่เมืองพัทยา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี มีพายุฝนตกกระหน่ำลงมาอย่างหนัก ต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 2 ชม.ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะถนนสุขุมวิท ช่วงใกล้ปากทางพัทยาใต้ ที่พบว่ามีน้ำท่วมขังตลอดแนวความยาวกว่า 300 เมตร ระดับน้ำมีความลึกเฉลี่ยกว่า 1 เมตร ทำให้รถยนต์ไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ การจรา จรติดขัดเป็นทางยาวนับกิโล สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก

ขณะที่ถนนเลียบทางรถไฟ ช่วงซอยเขาตาโล เขาน้อย พบว่ามีมวลน้ำไหลบ่าอย่างแรง และท่วมขังเกือบตลอดแนวอย่างหนักจนรถไม่สามารถสัญจรได้เช่นกัน เหมือนกับถนนพัทยาสาย 3 ถนนพัทยากลาง ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มที่มวลน้ำมักจะไหลบ่ามารวมกันก็พบว่ามีปัญหาท่วมขังอย่างหนักก่อนจะระบายลงสู่พื้นที่ชายหาด เจ้าหน้าที่จากเมืองพัทยาต้องทำการปิดกั้นการจราจรเพื่อป้องกันความเสียหายของทรัพย์สิน พร้อมอำนวยความสะดวกในการให้ความช่วยเหลือ เนื่องจากรถขนาดเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้

อย่างไรก็ตามปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่เมืองพัทยา จ.ชลบุรี จะเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำเนื่องจากเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำที่รับน้ำจากพื้นที่ข้างเคียงเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันเมืองพัทยากำลังเร่งดำเนินโครงการระบบระบายน้ำทั่วพื้นที่ แต่ก็พบว่าเป็นเพียงการลดระยะเวลาการท่วมขังเท่านั้น อย่างไรก็ตามจากกรณีที่เกิดฝนตกลงมาอย่างหนักและน้ำท่วมขังครั้งนี้ก็ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงน้ำก็สามารถระบายจนสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ