ตามที่ พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้สั่งการให้จัดตั้งศูนย์ให้บริการด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคติดต่อ COVID-19 กองทัพเรือ แบบ Call Center ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง ทั่วประเทศ มาตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2564 ถึงปัจจุบันนี้ ศูนย์ให้บริการด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคติดต่อ COVID-19 กองทัพเรือทั้ง 6 จุดได้ดำเนินการประสานและให้ความเหลือประชาชน ตลอดจนให้ความช่วยเหลือในการเคลื่อนผู้ป่วย COVID-19 ฉุกเฉิน และประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีเรื่องร้องทุกข์ 101 เรื่อง ให้คำแนะนำเรื่องราวต่างๆ 28 ราย สามารถให้ความช่วยเหลือในประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ 28 ราย ให้ความช่วยเหลือนำส่งโรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนามจำนวน 35 ราย และให้ความช่วยเหลือด้านอื่นๆ 13 ราย
โดยศูนย์ให้บริการด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคติดต่อ COVID-19 กองทัพเรือ ได้จัดรถยนต์ในการสนับสนุนการเคลื่อนย้ายทางบกจำนวน 65 คัน และเรือสนับสนันการเคลื่อนย้ายในทะเลจำนวน 10 ลำ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ดังนี้
ํํ1.ศูนย์ให้บริการด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคติดต่อ COVID-19 กองทัพเรือประจำพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีกรมการขนส่งทหารเรือเป็นหน่วยรับผิดชอบ หมายเลขโทรศัพท์
02-475-5238 และ 02-475-5499 โดยจัดรถยนต์ให้ความช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจำนวน 4 คัน ได้แก่ รถบรรทุกขนาดใหญ่ 2 คัน และรถยนต์บรรทุกขนาดเล็ก 2 คัน ทั้งนี้ดำเนินงานสนับสนุนกับหน่วยให้บริการประชาชนของกองทัพเรือ 8 จุด ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล
2.ศูนย์ให้บริการด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคติดต่อ COVID-19 กองทัพเรือ ประจำพื้นที่ จว.ชลบุรี และ จว.ระยอง มีฐานทัพเรือสัตหีบเป็นหน่วยรับผิดชอบ หมายเลขโทรศัพท์
038-438-474 และ 038-438-163 โดยจัดรถยนต์ให้ความช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจำนวน 4 คัน ได้แก่ รถยนต์โดยสารขนาดใหญ่ 2 คัน และรถตู้โดยสาร 2 คัน
3.ศูนย์ให้บริการด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคติดต่อ COVID-19 กองทัพเรือ ประจำพื้นที่ จว.จันทบุรี และ จว.ตราด มีกองกําลังป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราดเป็นหน่วยรับผิดชอบ
•พื้นที่ จว.จันทบุรี หมายเลขโทรศัพท์ 039-312-172 และ 039-447-1440
•พื้นที่ จว.ตราด หมายเลขโทรศัพท์ 039-312-172
•พื้นที่ในทะเล หมู่เรือลาดตระเวนชายแดน/1 รับผิดชอบ หมายเลขโทรศัพท์ 039-518-519
โดยจัดรถยนต์ให้ความช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจำนวน 42 คัน เรือ 4 ลำ ได้แก่ มีรถโดยสารขนาดใหญ่ 14 คัน รถโดยสารขนาดเล็ก 18 คัน รถบรรทุก 10 คัน เรือหลวงตากใบ เรือ ต.113 เรือ ต.237 และเรือ ต.272
4.ศูนย์ให้บริการด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคติดต่อ COVID-19 กองทัพเรือ ประจำพื้นที่ จว.สงขลา มีทัพเรือภาคที่ 2 เป็นหน่วยรับผิดชอบ หมายเลขโทรศัพท์
074-325-804 – 5 โดยจัดรถยนต์ให้ความช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจำนวน 3 คัน ได้แก่ รถยนต์บรรทุกขนาดเล็ก 3 คัน
5.ศูนย์ให้บริการด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคติดต่อ COVID-19 กองทัพเรือประจำพื้นที่ จว.ภูเก็ต และจง.พังงา มีทัพเรือภาคที่ 3 เป็นหน่วยรับผิดชอบ
• พื้นที่จังหวัดภูเก็ต ที่หมายเลขโทรศัพท์ 076-391-598
• พื้นที่จังหวัดพังงา ที่หมายเลขโทรศัพท์ 076- 453-354
โดยจัดรถยนต์ให้ความช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจำนวน 8 คัน เรือ 6 ลำ ได้แก่ รถบรรทุกขนาดใหญ่ 4 คัน เล็กบรรทุกเล็ก 4 คัน
เรือหลวงชลบุรี เรือหลวงมันใน เรือหลวงแหลมสิงห์ เรือ ต.233 และเรือพยาบาล 2 ลำ
6.ศูนย์ให้บริการด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคติดต่อ COVID-19 กองทัพเรือ ประจำพื้นที่ จว.นราธิวาส มีหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน กองทัพเรือเป็นหน่วยรับผิดชอบ หมายเลขโทรศัพท์
073-565-3677 โดยจัดรถยนต์ให้ความช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจำนวน 4 คัน ได้แก่ รถยนต์โดยสารขนาดเล็ก 4 คัน
โดยเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 ศูนย์ให้บริการด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคติดต่อ COVID-19 กองทัพเรือ ประจำพื้นที่ จังหวัดพังงา โดย ฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่ 3 จัดรถบรรทุกขนาดใหญ่ รับผู้ป่วย COVID-19 15 คน รับผู้ป่วยจากโรงเรียนบ้านบ่อดาน ต.นาเตย อ.ท้ายเหมือง จว.พังงา ซึ่งเป็นพื้นที่คลัสเตอร์การระบาดของ จว.พังงา ไปเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลท้ายเหมืองชัยพัฒน์ จว.พังงา
และเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 ศูนย์บริการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด กองทัพเรือประจำพื้นที่ จังหวัดชลบุรี ระยอง โดยฐานทัพเรือสัตหีบ จัดกำลังพลพร้อมยานพาหนะรับส่งผู้มีความเสี่ยงสูงติดเชื้อโควิด เพศหญิงพร้อมบุตร ปัจจุบันพักอาศัยอยู่ที่ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เข้ารับการตรวจหาเชื้อ ณ โรงพยาบาลแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
กองทัพเรือเพื่อประชาชนร่วมใจต้านภัยโควิด19 #กองทัพเรือเป็นที่พึ่งประชาชนเสมอ
กองประชาสัมพันธ์ สำนักจิตวิทยา กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ