หน้าแรก ข่าวประชาสัมพันธ์ นายก ส.ไก่ฯ ชี้ค่าแรงขั้นต่ำไม่สอดคล้องต้นทุนผลิต ชี้เพิ่มโอทีทางออกรอดทั้งลูกจ้าง-นายจ้าง

นายก ส.ไก่ฯ ชี้ค่าแรงขั้นต่ำไม่สอดคล้องต้นทุนผลิต ชี้เพิ่มโอทีทางออกรอดทั้งลูกจ้าง-นายจ้าง

184
0
แบ่งปัน

วันนี้ (  31 ส.ค.) ดร.ฉวีวรรณ คำพา นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานกรรมการบริหาร บริษัทในเครือฉวีวรรณ  ผู้ส่งออกเนื้อไก่รายใหญ่ ของไทย ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อการประกาศปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลที่จะให้มีผลบังคับใช้ในเดือน ต.ค.นี้ว่า    ภาวะทางเศรษฐกิจของไทยในขณะนี้ยังไม่เหมาะสมที่จะให้มีการปรับขึ้นอัตราค่าจ้าง 

เพราะผู้ผลิตยังต้องแบกรับภาระเรื่องต้นทุนทั้งราคาวัตถุดิบต่างๆ ที่พุ่งสูงขึ้นถ้วน และการไม่สามารถปรับขึ้นราคาขายได้ตามความเป็นจริงจากการถูกควบคุมด้วยกรมการค้าภายใน แม้ปัจจุบันการส่งออกสินค้าด้านอาหารของไทย รวมทั้งเนื้อไก่ปรุงสุกจะกำลังเป็นที่ต้องการในตลาดต่างประเทศก็ตาม  ที่ผ่านมาต้นทุนการผลิตสินค้าของไทยเพิ่มสูงขึ้นมากจากการ ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ต่อเนื่องยาวนานกว่า 2 ปีในวันนี้ผู้ประกอบการจึงยังไม่อยู่ในภาวะที่มีพร้อมในเรื่องการขึ้นค่าแรง แต่หากมองด้วยความเป็นกลางสถานการณ์ราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคที่พุ่งขึ้นทุกอย่างการอยู่รอดของแรงงานก็มีความจำเป็น  ”ดังนั้นทางออกที่ดีที่จะทำให้ทั้งผู้ผลิตและแรงงานอยู่ได้ในสถานการณ์ปัจจุบันก็คือ

ผู้ประกอบการจะต้องหากลยุทธต่างๆ เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดย ดร.ฉวีวรรณ เผยว่าธุรกิจในกลุ่มฉวีวรรณ กรุ๊ป ได้เลือกกลยุทธเรื่องการให้ค่าโอทีในการทำงานทดแทนการขึ้นค่าจ้างขึ้นต่ำ โดยมีทั้งการให้โอทีแบบรายชั่วโมง และการให้โอทีแบบเหมาจ่ายเพื่อให้แรงงานสามารถผลิตสินค้าได้ทันกับความต้องการของตลาด ซึ่งวิธีนี้ทำให้สามารถประคองตัวไปได้ทั้งผู้จ้างและแรงงาน  ในครั้งก่อนเราก็ได้ขอเวลาไปยังรัฐบาลแล้วว่าให้ช่วยยืดเวลาเรื่องการประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไปสักระยะ แต่ตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ก็พบว่าราคาสินค้าต่างๆ ได้พากันปรับขึ้นไปหมดแล้วและในความเห็นส่วนตัวก็มีความเห็นในผู้บริโภคแต่สุดท้ายหาก ผู้ประกอบการแบกรับภาระไม่ได้ก็ต้องเลิกกิจการ ส่วนผู้ใช้ก็อาจต้องตกงานเพราะฉะนั้นจะต้องมาเจอกันที่ครึ่งทางก่อน 

” ดร.ฉวีวรรณ ยังบอกอีกว่าแม้ปัจจัยบวกเรื่องค่าเงินที่อ่อนตัวลงจะทำให้ผู้ส่งออกโดยเฉพะสินค้าประเภทอาหารที่มีปริมาณการส่งออกมากขึ้น แต่ผู้ผลิตเองก็ต้องมีความพร้อมเรื่องระบบความปลอดภัยของอาหาร โดยเฉพาะสินค้าประเภทเกษตรปศุสัตว์ที่ต้องอยู่ในการดูแลของกรมปศุสัตว์ และกรมปศุสัตว์ ก็จะต้องให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ส่งสินค้าไปต่างประเทศแล้วเกิดปัญหาให้สามารถส่งสินค้าเข้าไปได้ ไม่ใช้การออกคำสั่งให้ผู้ผลิตของไทยหยุดการส่งออก โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบการผลิตและแรงงาน  ในสภาวะเช่นนี้ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐต้องช่วยกันว่าจะทำอย่างไรให้การส่งออกเป็นไปด้วยความสะดวก เพราะผู้ประกอบการก็ต้องเลี้ยงแรงงานเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับค่าไฟที่พุ่งสูงขึ้นที่ทำให้ในวันนี้กลุ่มฉวีวรรณ ต้องจ่ายค่าไฟประมาณ 20-30 ล้านบาทต่อเดือน เพราะธุรกิจเกษตรปศุสัตว์  ต้องใช้ไฟจำนวนมาก”และในฐานะนายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยฯ  ได้พยายามพูดคุยเพื่อให้รัฐบาลและการไฟฟ้าฯ มีความยืดหยุ่นในเรื่องของการเก็บค่าไฟให้กับผู้ประกอบการ ไม่ใช่การยื่นคำขาดว่าจะตัดไฟเพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายของธุรกิจเกษตรปศุสัตว์ว่าต้องใช้กระแสไฟในการสร้างความเย็นให้กับสัตว์ เพราะเมื่อถูกตัดไฟแล้วจะเกิดความเสียหายมากเพียงใด   สิ่งที่ผู้ประกอบการอยากฝากไปถึงรัฐบาลก็คือเรื่องค่าไฟที่ในขณะนี้ยังไม่ควรปรับขึ้นเพื่อช่วยเหลือทั้งประชาชนและผู้ประกอบการ โดยขอให้ยืดระยะเวลาออกไปอีกสักระยะ โดยเฉพาะเรื่องของการเก็บหนี้กับผู้ใช้ไฟที่น่าจะมีการเอื้ออำนวยให้กับประชาชนและภาคการผลิตเพื่อการส่งออกที่ต้องเจออุปสรรครอบด้านอยู่แล้ว ”

ดร.ฉวีวรรณ ยังกล่าวอีกว่าแม้คนไทยทั้งประเทศจะรู้อยู่แล้วว่าขณะนี้รัฐบาลเองก็อยู่ในสถานะที่ยากลำบาก แต่เมื่อคณะรัฐบาลยังมีหน้าที่ในการบริหารประเทศอยู่ก็อยากจะขอให้ใช้สติปัญหาและความสามารถในการช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการที่ก่อนหน้านี้ได้พยายามช่วยตัวเองอย่างสุดความสามารถแล้ว ให้สามารถประคองตัวต่อไปได้

และสิ่งที่อยากฝากถึงประชาชนคนไทยก็คือ การเลือกตั้งครั้งหน้าคือความหวังในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของประเทศ จึงขอให้ประชาชนเลือกคนที่มีวิสัย์ทัศน์และความสามารถในการทำงานมากกว่าการเลือกคนที่รักโดยไม่พิจารณาจากผลงาน ไม่เช่นนั้นประเทศชาติก็จะไม่สามารถอยู่รอดได้ และจะไม่เป็นไปตามความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ