หน้าแรก ข่าวประชาสัมพันธ์  เจ้าหน้าที่ฯสำนักงานส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรและชายฝั่งที่2 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เดินทางเข้าตรวจสอบเรือดำน้ำดูปะการังซิลว็อคเกอร์ หลังนักท่องเที่ยวอินเดียขึ้นจากน้ำ แล้ววูบเป็นลมหมดสติ โชคดีไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต

 เจ้าหน้าที่ฯสำนักงานส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรและชายฝั่งที่2 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เดินทางเข้าตรวจสอบเรือดำน้ำดูปะการังซิลว็อคเกอร์ หลังนักท่องเที่ยวอินเดียขึ้นจากน้ำ แล้ววูบเป็นลมหมดสติ โชคดีไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต

34
0
แบ่งปัน

     เมี่อเวลา15:00น.ของวันที่4ก.ค.2567 ที่บริเวณหน้าศูนย์ป้องกันภัยทางทะเล ท่าเทียบเรือเเหลมบาลีฮายพัทยา นายวุฒิพงษ์ วงศ์อินทร์ ผอ.ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรและชายฝั่งที่2 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ ได้ลงเรือสปี๊ดโบ๊ทของสำนักงาน เดินทางไปยังเกาะล้าน เพื่อเข้าตรวจสอบเรือต้องสมุทร8 เป็นเรือดำดูปะการังแบบซิลว็อคเกอร์ จุดสถานที่เกิดเหตุที่มีนักท่องเที่ยวชาวอินเดีย เกิดอาการวูบน็อคสลบ อาการโคม่า หลังจากลงทำกิจกรรมดำซิลว็อกเกอร์ดูปะการังที่เรือดังกล่าว แล้วกลับขึ้นมานั่งพัก จู่ๆเกิดอาการวูบ ทั้งผู้ประกอบการและพนักงาน ได้ช่วยกันปั้มหัวใจขึ้นมา ก่อนนำส่งรักษาต่อยังโรงพยาบาล เมื่อวันที่1ก.ค.2567ที่ผ่านมา

    เมี่อเจ้าหน้าที่เดินทางไปถึงเรือต้องโชค8 ทางด้านนายสรวัตร ปิ่นชูศรี อายุ 54 ปี ผู้เป็นเจ้าของเรือ ได้ให้การต้อนรับเจ้าหน้าที่ พร้อมทั้งพาดูในจฺดที่เกิเหตุ โดยทางด้านนายชูชัย พลสีดา  อายุ37 ปี ผู้เป็นลูกน้องดูแลเรือ เป็นหัวหน้าการ์ด คอยดูนักท่องเที่ยวทั้งในเรือและใต้ทะเล ได้เล่าว่า วันเกิดเหตุเวลาประมาณเที่ยงกว่าๆ ได้มีคณะนักท่องเที่ยวชาวอินเดียมาเป็นกรุ๊ปครอบครัว ประมาณ20คน แต่มีเพียง3ครอบครัว7-8คนเท่านั้นที่อาสาลงดำน้ำดูปะการัง โดยทุกคนผ่านการคัดกรองเบี้องต้น ทั้งอายุและโรคประจำตัว มีการสอบถามให้แน่ชัดแล้ว ทุกคนก็ลงดำน้ำดูปะการังตามปกติ โดยมีการ์ดใต้ทะเลตามประกบ พร้อมทั้งสอบถามอาการของทุกคน ขณะเดินดูปะการังใต้น้ำ ทุกคนก็โอเครปกติ ไม่ได้มีทีท่าจะบอกเหตุอะไรไม่ดี จะเห็นได้จากกล้องใต้ทะเล ทื่ทางเรือบริการถ่ายให้นักท่องเที่ยว จะเห็นได้ว่านักท่องเที่ยวชาวอินเดียคนที่สลบน็อค ยังมีอาการปกติทุกอย่าง โบกมือเล่นกล้องได้ตามปกติ จากนั้นเจ้าหน้าที่การ์ดก็พาขึ้น เพราะหมดเวลาไม่เกิน15นาทีต่อ1หัว ในจังหวะที่ชายอินเดีย ได้เดินมานั่งพักจิบน้ำกินประมาณสักพัก เพื่อรอลูกและครอบครัว จู่ๆชายอินเดียก็มีอาการเอนๆๆๆลงๆๆ หมอบฟุบไปเบาๆกับพื้น ตนเห็นจึงได้เรียก และเช็คชีพจรทันที เมี่อรู้ว่าชีพจรอ่อนมาก จึงทำซีพีอา ปั้มหัวใจทันที เป็นจังหวะที่ลูกชายของเขาขึ้นจากน้ำมาบนเรีอ เห็นเหตุการณ์ก็ตกใจพ่อเป็นอะไร ลูกชายจึงขอปั้มหัวใจเอง ซึ่งปั้มกดหน้าอกพ่อแรงมาก กดไปเรี่อยๆจนมีเลือดออกในช่องปาก ตนจึงนำเรือเร็วส่งผู้บาดเจ็บรักษายังรพ.บ้านเกาะล้าน ก่อนที่จะส่งตัวเข้ารักษายังรพ.ในเมืองพัทยาต่อไป(เสียงนายชูชัย การ์ดประจำ)

   ทางด้านนายสรวัตร ปิ่นชูศรี อายุ 54 ปี ผู้เป็นเจ้าของเรือ ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ตนเองทำกิจการเรือซิลวอกเกอร์ดูปะดารัง มานานกว่า20ปี ไม่เคยมีเหตุการณ์แบบนี้ ซึ่งหลังเกิดเหตุ ก็ได้ดูแลผู้ปัวยตั่งแต่บนเรือจนถึงรพ. และกึได้เข้าเยี่ยมอาการคนป่วยแล้ว ตอนนี้ปลอดภัยรู้สึกตัวแล้ว นำกระเช้าแสดงน้ำใจไปให้ครอบครัวผู้ป่วย ทางทีมแพทย์แจ้งเหตุผลเป็นเพราะอาการป่วยโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ ทำให้นักท่องเที่ยวรายนี้จึงวูบเป็นลมหมดสติไป ซึ่งทางเรือก็มีมาตรการเข้มงวดอยู่แล้ว ในการคัดกรอง ทั้งอายุ เวลา และการป่วยมีโรคประจำตัวจะไม่อนุญาติให้ลงใต้น้ำ เพราะแรงดันใต้น้ำจะสูงกว่าบนบก แต่นักท่องเที่ยวรายนี้ ไม่ยอมพูดความจริง คงอยากลงเล่นน้ำดูปะการังกับครอบครัว จึงไม่บอกความจริง เพราะเวลาที่ไปเยี่ยมผู้ป่วยมา ทางครอบครัวชาวอินเดียเหมือนเขาจะรู้ตัวอยู่แล้ว ว่าเป็นเพราะเขาป่วยเป็นโรคประจำตัวเอง ไม่ได้เกี่ยวกับทางเรือในเหตุการณ์ครั้งนี้ ในส่วนของบริษัทประกันก็ไม่ได้เยียวยาอะไร เพราะไม่ใช่อุบัติเหตุ เป็นโรคประจำตัวที่เป็นเองหลังจากขึ้นจากน้ำมานั่งพักรอครอบครัว(เสียงเจ้าของเรือ)

   ในส่วนของ กรมทรัพยากรและชายฝั่ง โดยนายวุฒิพงษ์ วงศ์อินทร์ ผอ.ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรและชายฝั่งที่2 ได้ชี้แจงว่า โดยปกติทางกรมทรัพฯ ก็จะร่วมกับกรมเจ้าท่า เมืองพัทยา และตำรวจท่องเที่ยวพัทยา จะออกตรวจตรา คอยแนะนำให้ความรู้กับผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวอยู่ตลอด ซึ่งที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีเหตุการแบบนี้เกิดขึ้น คงเป็นเพราะนักท่องเที่ยวมีโรคประจำตัวแล้วไม่บอกความจริงกับทางเรือ อย่างไรก็ตามขณะนี้ผู้ป่วยรายนี้ อาการดีขึ้นตามลำดับ ทางผู้ประกอบเรือเองก็ดูแลผู้ป่วยอย่างดี ทำให้ไม่เสียชื่อเสียงของเมืองพัทยา และทางเจ้าหน้าที่ ก็จะกำชับย้ำผู้ประกอบการรายอื่นๆในพื้นที่ดำดูปะการัง จะด้วยวิธีใดก็แล้วแต่ จะให้เน้นย้ำเรี่องสุขภาพแบบคุมเค้ม เพื่อที่จะเป็นการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นซ้ำซ้อนอีก.