หลังจากเมื่อวันที่ 24 ก.ย.2567 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 ความว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567” มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 120 วันแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
![](https://sattahip-news.com/wp-content/uploads/2024/12/S__277414148-1024x576.jpg)
![](https://sattahip-news.com/wp-content/uploads/2024/12/S__277414150-1024x576.jpg)
ซึ่งมีเนื้อหารับรองการสมรสระหว่างบุคคล โดยไม่จำกัดเฉพาะชาย หญิง โดยให้บุคคลสองคนสามารถแต่งงานกันได้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยแก้ไขคำว่า ชาย และ หญิง เป็น บุคคล และเรียกคู่สามี-ภรรยา เป็น คู่สมรส นอกจากนี้ปรับอายุขั้นต่ำ การหมั้น สมรส จาก 17 ปี เป็น 18 ปี และคนไทยจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติโดยใช้กฎหมายไทยได้ รวมทั้งรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ เรียกค่าทดแทนและเหตุฟ้องหย่า โดยกฎหมายสมรสเท่าเทียม จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 ม.ค.2568 เป็นต้นไป
![](https://sattahip-news.com/wp-content/uploads/2024/12/S__277414154-1024x576.jpg)
![](https://sattahip-news.com/wp-content/uploads/2024/12/S__277414153-1024x576.jpg)
ล่าสุดวันนี้ (13 ธ.ค.67 ) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมืองพัทยา ได้ส่งเจ้าหน้าที่ ฝ่ายออกแบบการจราจรและคมนาคม ส่วนการจราจรและขนส่ง ลงพื้นที่ดำเนินการทำสัญลักษณ์จราจรบนพื้นทางเป็นสีรุ้ง ทางเดินคนข้าม หรือทางม้าลาย บริเวณถนนพัทยาสาย 2 ตรงข้ามโรงแรมอวานี พัทยา รีสอร์ท เพื่อเตรียมฉลองการเริ่มใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียมในประเทศ ที่รองรับสิทธิในการสมรสของผู้มีความหลากหลายทางเพศ และทำให้ไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
![](https://sattahip-news.com/wp-content/uploads/2024/12/S__277414156-1024x576.jpg)
![](https://sattahip-news.com/wp-content/uploads/2024/12/S__277414157-1024x576.jpg)