หน้าแรก ข่าวประชาสัมพันธ์ ศรชล.บูรณาการร่วมกำหนดแนวทางควบคุมป้องกันโควิด เรือช่วยรบสหรัฐ ขอเข้าราชอาณาจักร เพื่อการซ่อมบำรุงเรือ

ศรชล.บูรณาการร่วมกำหนดแนวทางควบคุมป้องกันโควิด เรือช่วยรบสหรัฐ ขอเข้าราชอาณาจักร เพื่อการซ่อมบำรุงเรือ

425
0
แบ่งปัน

เมื่อ 16 ก.ค.64 ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล จังหวัดชลบุรี (ศรชล.จว.ชบ.) โดย
น.อ.ณัฐวุฒิ งามวงศ์วาน รอง ผอ.ศรชล.จว.ชบ. ร่วมประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ประกอบการ (ศรชล.ภาค 1, ศรชล.จว.ชบ., ศคท.จว.ชบ., อ.ศรีราชา, สจป.ศรีราชา, ตม.แหลมฉบัง, ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ท่าเรือศรีราชา-เกาะสีชัง, บ.ยูนิไทย, ท่าเรือศรีราชาฮาร์เบอร์, ตัวแทนเรือ และ ผชท.สหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย) เพื่อร่วมกำหนดแนวทางปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่ง ศบค. เรื่องแนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พรก.ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 9) ข้อ 1 (5) (5.1) และในกรณี เรือช่วยรบสัญชาติอเมริกา (เรือ USNC Charles Drew) ขอเข้าราชอาณาจักร เพื่อการซ่อมบำรุงเรือ ณ ห้องประชุม สนง.ท่าเรือศรีราชาฮาร์เบอร์ อ.ศรีราชา จว.ชลบุรีโดยมี พล.ร.ต.สมพงษ์ ศรอากาศ ผอ.สน.ฝอ.ศรชล.ภาค 1 เป็นประธาน ซึ่งมีมติในที่ประชุมดังนี้

  1. มาตรการก่อนเดินทางเข้าราชอาณาจักร ของ เรือ USNC Charles Drew ด่านควบคุมโรคฯ ตรวจสอบแล้ว เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด
  2. เรือ USNC Charles Drew ยินยอมให้คนประจำเรือทั้งหมดเข้ารับการกักกันโรคบนเรือ จำนวน 14 วัน
  3. เรือ USNC Charles Drew ยินยอมให้คนประจำเรือทั้งหมดรับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยวิธี RT-PCR จำนวน 3 ครั้ง โดย ร.พ.คู่สัญญา ในการกำกับของด่านควบคุมโรคฯ
  4. เมื่อการเตรียมการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของ ร.พ.คู่สัญญา พร้อมแล้ว อนุญาตให้ เรือ USNC Charles Drew เข้าเทียบท่าเรือศรีราชาฮาร์เบอร์ โดยให้จัดทำเขตกั้นบริเวณจอดเรือให้ชัดเจน และจัด จนท.ตรวจสอบตลอด 24 ชม.
  5. เมื่อเรือเทียบท่าแล้ว ทำการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้
    5.1 ตรวจครั้งที่ 1 หลังจากเรือเทียบท่าแล้ว
    5.2 เมื่อผลตรวจครั้งที่ 1 ไม่พบผู้ติดเชื้อ ทำการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ครั้งที่ 2 ในวันที่ 6-7 ของระยะเวลากักกันโรค
    5.3 เมื่อผลตรวจครั้งที่ 2 ไม่พบผู้ติดเชื้อ ทำการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ครั้งที่ 3 ในวันที่ 12-13 ของระยะเวลากักกันโรค
  6. เมื่อกักกันโรคครบ 14 วันแล้ว ไม่พบการติดเชื้อของคนประจำเรือ ผู้ประกอบการสามารถขึ้นเรือดำเนินการซ่อมทำได้
  7. การส่งเสบียงในระหว่างการซ่อมทำ ให้ดำเนินการโดยอยู่ในการกำกับของด่านควบคุมโรคฯ
  8. หลังจากเรือเข้าเทียบท่าแล้ว ให้ตัวแทนเรือ ทำหนังสือขออนุญาต ศบค. และคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดชลบุรี เพื่อขอเข้าประเทศ (เฉพาะพื้นที่จังหวัดชลบุรี ในกรณีคนประจำเรือทั้งหมดตรวจแล้วไม่พบการติดเชื้อ)

  9. ภาพ/ข่าว สนง.ศรชล.ภาค 1
    นิราช/นันทพล ทิพย์ศรี รายงาน