หน้าแรก ข่าวประชาสัมพันธ์  เมืองพัทยาและเทศบาลต้นแบบรวม 7 แห่ง ลงนาม MOU ความร่วมมือโครงการทดสอบรถยนต์พลังงานไฟฟ้ามาใช้ในราชการ เพื่อพัฒนางานบริการและกิจกรรมสาธารณะ นำร่อง 8 พื้นที่แรกในประเทศไทย

 เมืองพัทยาและเทศบาลต้นแบบรวม 7 แห่ง ลงนาม MOU ความร่วมมือโครงการทดสอบรถยนต์พลังงานไฟฟ้ามาใช้ในราชการ เพื่อพัฒนางานบริการและกิจกรรมสาธารณะ นำร่อง 8 พื้นที่แรกในประเทศไทย

99
0
แบ่งปัน

       นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา พร้อมด้วย ดร.ชนากานต์ ยืนยง อธิการบดีมหาวิทยาลัยปทุมธานี, นายฉัตรชัย ทิมกระจ่าง  นายกเทศมนตรีเมืองศรีราชา, นายธวัชชัย สวัสดิชัย นายเทศมนตรีเมืองท่าใหม่, นาวาเอก อนุศักดิ์ นาคทิม นายกเทศมนตรีตำบลบางปู, นายธีรพล ชุนเจริญ นายกเทศมนตรีตำบลบางเมือง, นายจิระเดช ธาดากาญจน์กิจ นายกเทศมนตรีตำบลแหลมทอง และนางสมฤดี จันทร์สุวรรณ นายกเทศมนตรีตำบลหน้าพระลาน ร่วมลงนาม MOU ความร่วมมือโครงการทดสอบรถยนต์พลังงานไฟฟ้ามาใช้ในราชการ เพื่อพัฒนางานบริการและกิจกรรมสาธารณะ ของ “เมืองพัทยาและเทศบาลต้นแบบ” ระหว่าง เมืองพัทยาและเทศบาลต้นแบบ กับ มหาวิทยาลัยปทุมธานี ณ ศาลาว่าการเมืองพัทยา โดยมี ผู้บริหารเมืองพัทยา หัวส่วนราชการ สมาชิกสภาเมืองพัทยา และตัวแทนเทศบาลต้นแบบรวม 7 แห่ง ร่วมเป็นสักขีพยาน

      สำหรับบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทดสอบรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) ในครั้งนี้ ด้วยเมืองพัทยา และเทศบาลต้นแบบรวม 7 แห่งที่มีความพร้อมดำเนินการเป็น “ต้นแบบ” จึงมีนโยบายร่วมกับมหาวิทยาลัยปทุมธานี จัดทำ “โครงการวิจัยการจัดทำแผนแม่บทและยุทธศาสตร์การใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) แบบบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในงานบริการสาธารณะขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น” เพื่อตอบโจทย์ งานบริการสาธารณะ ที่เกิดความคุ้มค่า คุ้มทุน โดยมีเป้าหมาย เพื่อการจัดทำแผนแม่บทและยุทธศาสตร์การใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) แบบบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในงานบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยมีรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) ที่ใช้ในโครงการ ดังนี้ 1. รถกระบะ 4 ประตู 2. รถกระบะ 2 ประตู 3. รถตู้อเนกประสงค์ 4.รถมินิบัส (ขนาดไม่เกิน 20 ที่นั่ง และ5.รถบัสโดยสาร (ขนาดไม่เกิน 40 ที่นั่ง)

   ทั้งนี้การนำรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) มาใช้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนรวมทั้งสนับสนุนแผนปฏิบัติการด้านความเป็นกลางทางคาร์บอน เพื่อให้เกิดแนวทางการดำเนินการเช่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV)สร้างมาตรฐานราคากลางมาใช้ในงานราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล ครอบคลุม และนำไปสู่การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance)   ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่ความยั่งยืน SDGs ของสังคมไทยโดยการส่งเสริมการอนุรักษ์การใช้พลังงาน ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม การลดโลกร้อน และเกิดความคุ้มค่า คุ้มทุนในทุกมิติต่อไป