ช่วงบ่ายของวันนี้ 19 มี.ค.67 พล.ต.อ.ไกรบุญ ทรวดทรง จเรตำรวจแห่งชาติ (จตช.) ในฐานะ ผู้อำนวยการ ศูนย์ปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้สั่งการให้ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดย พลตำรวจโท จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สนธิกำลังโดย กองบังคับการตำรวจน้ำ (บก.รน.) กองบังคับการปราบปราม , ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 1 ,ฝ่ายสืบสวนปราบปราม 2 กองสืบสวน และปรามปราม กรมศุลกากร กรมสรรพสามิตร , สํานักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม, สํานักงานสรรพสามิตภาคที่ 2 สํานักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาพัทยา, สํานักงานเจ้าท่าสาขา พัทยา
โดยร่วมกันตรวจยึดและจับกุมเรือไทย จํานวน 5 ลํา พร้อมลูกเรือ 28 คน ดังนี้ เรือ เจ.พี. พร้อมน้ํามันเถื่อนประมาณ 80,000 ลิตร พร้อมลูกเรือ 7 คน , เรือ ช.โชคบุญชู 91 พร้อมลูกเรือ 4 คน, เรือกําไลเงิน(กําไลเหล็ก) พร้อมลูกเรือ 6 คน, เรือซีฮอต พร้อมน้ํามันเถื่อนประมาณ 150,000 ลิตร พร้อมลูกเรือ 6 คน 5. และ เรือดาวรุ่ง พร้อมน้ํามันเถื่อนประมาณ 100,000 ลิตร พร้อมลูกเรือ 5 คน โดยสามารถจับกุม ได้ในพื้นที่ทะเลอ่าวไทย ใกล้เคียงกับแท่นขุดเจาะน้ํามันจัสมิน
โดยพฤติการณ์ กองบัญชาการตํารวจสอบสวนกลาง โดย กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) และ กองบังคับการตํารวจน้ํา (บก.รน.) ได้รับแจ้งการข่าวจากสายลับว่ามีกลุ่มเครือข่ายเรือสัญชาติไทยลักลอบขนน้ํามันเถื่อนเข้ามาในราชอาณาจักร ไทยโดยผิดกฎหมายบริเวณกลางอ่าวไทย ต่อมา ศูนย์ปราบปรามการกระทําผิดเกี่ยวกับน้ํามันเชื้อเพลิง สํานักงานตํารวจแห่งชาติ (ศปนม.ตร.) โดย พล.ต.อ. ไกรบุญ ทรวดทรง จตช./ ผอ.ศปนม.ตร. ได้ทราบและเห็นถึงปัญหาดังกล่าวและเพื่อปราบปรามการลักลอบ การกระทํา ความผิดที่ส่งผลให้ภาครัฐสูญเสียประโยชน์ รวมถึงเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน จึงได้สั่งการ ให้ กอง บัญชาการตํารวจสอบสวนกลาง บูรณาการร่วมกับหน่วยงานร่วม ลงพื้นที่สืบสวนหาข่าว แสวงหา พยานหลักฐานเพื่อ ดําเนินคดีกับกลุ่มเครือข่ายดังกล่าว
จนกระทั่งวันที่ 17 มี.ค.67 เวลาประมาณ 03.00 น. จึงได้เริ่มปฏิบัติการ โดยใช้เรือ ตรวจการณ์1301 (เรือชัย จินดา) พร้อมกําลังพลตํารวจน้ําและ เจ้าหน้าที่กองกํากับการ 2 กองบังคับการปราบปราม ประมาณ 50 นาย ได้ออก จากท่าเรือ สถานีตํารวจน้ํา 3 กองกํากับการ 5 (สัตหีบ) เพื่อตรวจสอบพื้นที่บริเวณกลางอ่าวไทย ต่อมาวันเดียวกันนั้น เวลาประมาณ 09.00 น. ได้ตรวจพบเรือ เจ.พี. สัญชาติไทย พร้อมน้ํามันเถื่อนประมาณ 80,000 ลิตร พร้อมลูกเรือ 7 คน ขณะกําลังขนถ่ายน้ํามันเถื่อนให้กับเรือ ช.โชคบุญชู91 พร้อมลูกเรือ 4 คน และ เรือกําไลเงิน (เหล็ก) พร้อมลูกเรือ 6 คน โดยหาเรือลําดังกล่าวได้รับน้ํามันเถื่อนแล้ว จะทําการขนส่งไปเทียบที่ท่าเรือไม่ทราบชื่อ บริเวณ ต.บางตะบูน อ. บ้านแหลม จ.เพชรบุรี เพื่อขนถ่ายต่อไปยังรถบรรทุกน้ํามันต่อไป ต่อมาเวลาประมาณ 15.00 น. เรือตรวจการณ์ 1301 (เรือชัยจินดา) ได้ตรวจพบเรือ Seahorse สัญชาติไทย หรือ กําไลเงิน พร้อมน้ํามันเถื่อนประมาณ 150,000 ลิตร พร้อมลูกเรือ 6 คน และ เรือดาวรุ่ง สัญชาติไทย พร้อมน้ํามันเถื่อนประมาณ 100,000 ลิตร พร้อมลูกเรือ 6 คน (รวม ทั้งสิ้น เรือ 5 ลํา, ลูกเรือ 28 คน และ น้ํามันเถื่อนประมาณ 330,000 ลิตร คิดเป็นมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท) กระทั่งวันที่ 19 มี.ค. 67 เวลาประมาณ 08.00 น. เจ้าหน้าที่ตํารวจ ได้นําเรือทั้ง 5 ลํา พร้อมตัวลูกเรือ ทั้งหมด เข้าเทียบท่า ณ ท่าเรือ สถานีตํารวจน้ําฯ สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
จากการตรวจสอบเบื้องต้นโดยเจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิต พบว่า น้ํามันเถื่อนดังกล่าว เป็นน้ํามันที่มิได้มีไว้ใช้ในราชอาณาจักร และจึงได้แจ้งข้อกล่าวหา “ร่วมกันพยายามลักลอบนําเข้า มาในราชอาณาจักรซึ่งน้ํามันที่มิได้ผ่านพิธีการศุลกากร” และนําตัวผู้ต้องหาและของกลางทั้งหมดส่ง พนักงาน สอบสวน กองกํากับการ 2 กองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอ ศ.) เพื่อดําเนินคดีตามกฎหมายต่อไป โดยประเมินค่าปรับ น่าจะสูงถึง 30 ล้านบาท
ในท้ายที่สุดนี้ขอฝากเตือนถึงชาวประมงและผู้ประกอบการ ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย เนื่องจากการลักลอบ นําเข้าน้ํามันเถื่อนนี่ไม่ได้เสียภาษีอากร จะทําให้ภาครัฐสูญเสียรายได้จากจัดเก็บภาษีหลายหมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่ง รายได้จากภาษีดังกล่าวจะนํากลับคืนสังคม ในรูปของบริการสาธารณะ สาธารณูปโภคที่ทุกคนจะมีส่วนได้รับประโยชน์ จากเงินภาษีดังกล่าว รวมถึงพี่น้องประชาชนที่ใช้น้ํามันเถื่อนที่ไม่ได้เสียภาษีอากร เนื่องจากการใช้น้ำมันเถื่อน อาจทํา ให้ได้น้ำมันที่ไม่มีคุณภาพเพียงพอ ส่งผลเสียต่อเครื่องยนต์ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ทั้งนี้หากประชาชนทั่วไปมีเบาะแสเกี่ยวกับการลักลอบจําหน่ายน้ำมันเขียว สามารถแจ้งเบาะแสมาได้โดย ตรงที่กองบัญชาการตํารวจสอบสวนกลางได้ทุกช่องทาง
สอบถามคําให้การผู้ต้องหาเบื้องต้น อยู่ระหว่างการสอบสวนเพื่อขยายผลต่อไป